วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทันหุ้น – บิ๊กบีโอไอ”หิรัญญา สุจินัย” แจงเปิดเสรีลงทุนอาเซียนไม่กระทบธุรกิจไทย แค่เปิดทางต่างชาติได้สิทธิเท่านักลงทุนชาติอาเซียน

ทันหุ้น – บิ๊กบีโอไอ”หิรัญญา สุจินัย” แจงเปิดเสรีลงทุนอาเซียนไม่กระทบธุรกิจไทย แค่เปิดทางต่างชาติได้สิทธิเท่านักลงทุนชาติอาเซียน














นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า ตามที่มี นักธุรกิจและนักลงทุนไทยหลายรายสอบถามถึงความชัดเจนของเรื่องความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน หรือ ACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement) ในประเด็นการยกเลิกข้อสงวนในความตกลงกับผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย บีโอไอขอยืนยันว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) มีมติเห็นชอบให้ขยายการให้สิทธิ์ให้นักลงทุนต่างชาตินอกอาเซียนที่จะเข้ามาลงทุนในไทย เท่านั้น มิได้มีการพิจารณาเปิดเสรีในสาขาอื่นๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด โดยข้อสงวนเรื่องธุรกิจ 5 สาขา ยังเป็นไปตามข้อสงวนเดิมที่ได้ตกลงไว้ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อนักธุรกิจและนักลงทุนไทย
“ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2555 ที่ความตกลง ACIA มีผลบังคับใช้ ประเทศไทยเป็นเพียงชาติเดียวในอาเซียนที่ขอสงวนการเปิดเสรีให้เฉพาะนักลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น โดยไม่ให้สิทธิ์กับ นักลงทุนนอกอาเซียนที่ลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วต้องการเข้ามาขยายการลงทุนในไทย ซึ่งอาจกลายอุปสรรคต่อการขยายการลงทุนมายังประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการใช้สิทธิ์ภายใต้กรอบ ACIA จึงได้มีการพิจารณาและยกเลิกข้อสงวนนี้เพียงข้อเดียว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดึงดูดการลงทุน และทำให้นักลงทุนต่างชาติเห็นว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมีความเชื่อมั่นในการขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน” เลขาธิการบีโอไอกล่าว
สำหรับข้อสงวนของไทย ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน ยังคงเป็นไปตามเดิมไม่มีการยกเลิก โดยได้มีการกำหนดข้อสงวนรวม 25 รายการ จำนวนกว่า 40 รายการย่อย ที่ไทยกำหนดให้ลงทุนได้เฉพาะคนไทย ส่วนใหญ่เป็นกิจการในบัญชี 1 – 2 แนบท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ห้ามมิให้ต่างชาติดำเนินการ อาทิ การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การประมง การสกัดสมุนไพรไทย การทำนาเกลือ การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย การสีข้าว การผลิตน้ำตาลจากอ้อย เป็นต้น

ทั้งนี้ ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียนไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอยังเป็นไปตามเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนด


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

MOR ,MLR ,MRR คืออะไร???


  จากตารางอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อไปหลายคนคงสงสัยว่า MOR MLR MRR คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ดูรูปภาพนี้แล้วทุกคนน่าจะเข้าใจคำสามคำนี้มากขึ้น





ที่มา
http://www.checkraka.com/knowledge/personal-loan-1-216/ดอกเบี้ย-MLR-MRR-และ-MOR-ต่างกันอย่างไร-1609583/

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ วันที่ 17 สิงหาคม 2559




อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2559













ที่มา
ธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx

















ไทยพัฒนาโรงงานฯ ฟื้น-ขายที่ดินเฟส 2 มูลค่าเฉียด 2 พันล. (TFD)


ไทยพัฒนาโรงงานฯ ฟื้น-ขายที่ดินเฟส 2 มูลค่าเฉียด 2 พันล.









    ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม เปิดแผนธุรกิจครึ่งหลังปี 59 เตรียมรับรู้รายได้ต่อเนื่อง ดันผลงานทั้งปีออกมาเป็นบวก รายได้ตามเป้า 5.5 พันล้านบาท พลิกมีกำไรแน่ เตรียมเปิดขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 มูลค่าโครงการ 1.8 พันล้านบาท มั่นใจเปิดขายได้ในไตรมาส 3/59 พร้อมเล็งขายสินทรัพย์เข้ากอง RIT มูลค่า 2 พันล้านบาท ไตรมาส 4 อีกทั้งมีรายได้อสังหาริมทรัพย์หนุนต่อเนื่อง เล็งเปิดเพิ่มอีก 2 โครงการ ขณะที่ 19 ส.ค.ฤกษ์ส่ง TFD-W4 เข้ากระดานเทรด ตั้งราคาแปลง 3.50 บ. อายุ 2 ปี

นายอภิชัย เตชะอุบล รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ TFD เปิดเผยว่า ครึ่งหลังปี 2559 ผลการดำเนินงานของ TFD เริ่มเข้าสู่ช่วงเทิร์นอะราวนด์ ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังมีปัยจัยหนุนที่จะทำให้ผลการดำเนินงานทั้งปีออกมาเป็นบวกได้ แม้ว่าครึ่งปีแรกจะยังมีผลการดำเนินงานเป็นลบ เนื่องจาก 3 ธุรกิจหลักของบริษัทเติบโตได้ดี

โดย “ธุรกิจนิคม” นั้น ล่าสุด นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 บนเนื้อที่ 2.5 พันไร่ ที่ได้รับการอนุมัติเปลี่ยนสีจากสีเขียวให้เป็นสีม่วงไปเรียบร้อยแล้วนั้น ขณะนี้ขั้นตอนขอ EIA ดำเนินการไปกว่า 90% แล้ว คาดจะได้รับการอนุมัติภายในไตรมาส 3/2559 และจะเริ่มขายที่ดินได้ทันทีที่มีการอนุมัติ ซึ่งขณะนี้นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เฟส 2 มีกลุ่มทุนในประเทศ และต่างประเทศ เข้ามาเจรจาขอซื้อที่ดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งปี 2559 ตั้งเป้ายอดขายที่ดิน 200 ไร่ เฉลี่ย 9 ล้านบาทต่อไร่ รวมเป็น มูลค่า 1.8 พันล้านบาท แต่คาดว่าจะสามารถโอนได้ภายในปี 2559 ที่ 100 ไร่ มูลค่า 900-1,000 ล้านบาท ส่วนปี 2560 ตั้งเป้ายอดขายที่ดินเพิ่มเป็น 400 ไร่

ส่วน “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ดำเนินธุรกิจโดย “บริษัท คราวน์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TFD ล่าสุด ประสบความสำเร็จการขายโครงการคอนโดมิเนียม ภายใต้ชื่อ “The Harbour View Residence” แบบยกตึกให้กลุ่มทุนไต้หวัน “Blue ocean realty Group (Taiwan)” มูลค่ารวม 1.66
พันล้านบาท คาดจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนได้ภายในปี 2560 นอกจากนี้ ยังมีโครงการ 15 สุขุมวิท เรสซิเดนซ์ คอนโดมิเนียมที่ทำการขาย และรับรู้การโอนไปแล้ว 80% และยังเปิดทำการขายอยู่ 20% ที่จะทยอยรับรู้รายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งล่าสุด บริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการใหม่อีก 2 โครงการ คือ โครงการ The One Ratchada คอนโดมิเนียมเน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง ความสูง 34 ชั้น จำนวน 4 อาคาร บนทำเลใกล้ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าโครงการ 6 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มขายในไตรมาส 4/2559 อีกทั้งยังมีโครงการระดับไฮเอนด์ ความสูง 41 ชั้น อีกหนึ่งโครงการ บนทำเลราชดำริ ซึ่งโครงการนี้ผ่าน EIA เรียบร้อยแล้ว และเริ่มลงเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีแผนจะเปิดขายเร็วๆ นี้เช่นกัน

ส่วน “ธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่า” ดำเนินการโดย “บริษัท โทเทิล อินดัสเตรียล เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ TISCOM” โดย TFD ถือหุ้น 100% ปัจจุบันมียอดเช่าเพิ่มขึ้น ทั้ง “โครงการ Green Park” เฟส 1 โดยคาดว่าจะมีผู้เช่า 75-100% ในช่วงปลายไตรมาส 3/2559 นี้ “โครงการ Green Park” เฟส 2 ก็มั่นใจว่าจะมีผู้เช่าเต็ม 100% ภายในช่วงไตรมาส 3/2559 เช่นกัน ทั้งนี้ TISCOM ยังมีโรงงาน และคลังสินค้าให้เช่าในประเทศอังกฤษอีก 2 ที่ มีผู้เช่าระยะยาวเต็ม 100% ให้อัตราผลตอบแทนสูงเฉลี่ย 9-9.8%

นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนจะจัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) มูลค่า 2 พันล้านบาท ภายในไตรมาส 4/2559 ซึ่งจะนำโรงงานสำเร็จรูป และคลังสินค้าในโครงการ Green Park เฟส 1 Green Park เฟส 2 และโรงงานในอังกฤษ 2 แห่ง ขายเข้าเป็นสินทรัพย์ของกอง REIT ซึ่งจะบันทึกเข้ามาเป็นกำไรให้บริษัทในปีนี้ 2559 จึงมั่นใจว่าปีนี้รายได้จะเติบโตตามเป้า 5.5 พันล้านบาท และจากนี้ไปจะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเทิร์นอะราวนด์ และจะเติบโตต่อเนื่องไปอีก 3 ปีข้างหน้า ที่จะทยอยรับรู้รายได้จากธุรกิจด้านต่างๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเงินลงทุนนั้น บริษัทมีเพียงพอต่อการขยายธุรกิจ ซึ่งมีเครื่องมือระดมทุนหลายด้าน ทั้งการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงิน อีกทั้งบริษัทได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (TFD-W4) จำนวนไม่เกิน 427,833,801 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ในอัตราส่วน 3 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หน่วย โดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 19 สิงหาคม 2559 ก็จะเป็นอีกช่องทางในการระดมทุนของบริษัทเพื่อขยายธุรกิจในอนาคตเช่นกัน ซึ่งใบสำคัญแสดงสิทธิ TFD-W4 มีราคาการใช้สิทธิเท่ากับ 3.50 บาทต่อหุ้น อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ 2 ปี





ที่มา
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000082508

วงเงินสินเชื่อพิเศษ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) (TH)





..สินเชื่อของธนาคารนั้นมีมากมายหลายธนาคาร จะขอยกตัวอย่างธนาคารกสิกรไทย โดยสินเชื่อระยาวที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของธนาคารกสิกรไทยมา 1 ประเภท ซึ่งก็คือ วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะยาวแบบผูกพันการให้กู้  หรือ  Revolving Long Term Committed Credit Facility
จุดเด่นของสินเชื่อประเภทนี้


  • เป็นวงเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวสกุลเงินบาท (ยกเว้นวงเงินหมุนเวียนระยะยาวประเภทสินเชื่อเพื่อการ นำเข้าและส่งออก) โดยเป็นวงเงินแบบผูกพันการให้กู้ และมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี

  • เป็นเงินทุนหมุนเวียนหลักในการดำเนินงานครอบคลุมถึง ตั๋วสัญญาใช้เงิน, สินเชื่อเพื่อการค้า, เลตเตอร์ออฟเครดิต, สินเชื่อสินค้าเข้า, สินเชื่อเพื่อการส่งออก



Test first cactus



Test first cactus.